สอนศิลปะเชียงใหม่ 0931350017
รับสอน วาดเส้น สีนำ้ สีนำ้มัน
ติว สอบเข้ามหาลัย
จิตรกรรม ออกแบบ สถาปัตยกรรม
รับสอนศิลปะเชียงใหม่ เด็ก/บุคคลทั้่วไป ติวศิลปะเพื่อสอบเข้ามหาลัย รับวาดภาพเหมือนภาพล้อเลียน เพ้นท์กำแพง และงานศิลป์ ตกแต่งบ้านและร้านค้า Tel.093 135 0017
วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2558
วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
ศิลปะเด็กในสวนบ้านเพลิน 2012
ศิลปะเด็กในสวนบ้านเพลิน 2012
น้องวิน อายุหกขวบกว่า
ในชัวโมงศิลปะ การทำงานของน้องวินเริ่มมีการปล่อยวางกับสิ่งที่ผิดพลาดบางแล้ว แกจะไม่ค่อย ซีเรียดเหมือนครั้งก่อนๆมา ทางด้านเทคนิด น้องเขายังเป็นเด็กที่สนใจกับเทคนิคใหม่ๆเสมอ โดยเฉพาะครั้งสุดท้ายที่เจอ น้องวินทำงานศิลปะ โยเอาเทคนิค ของครูฝรัง (ครูใคร่ สอนบางอย่างในการทำกิจกรรม เหมือนเอาน้ำยาทาสีเล็บกับกากเพชรผสมกัน ) น้องวินยังคงสนุกกับคาบของครูไคร่ เลยเอาเทคนิคน้ำยาทาสีเล็บ มาวาดรูป
น้องหยก อายุ 6 ขวบกว่าๆ
เป็นช่วงแห่งการใช้สัญลักษณ์และตั้งชื่อรูป
เด็กๆในวัยนี้จะเริ่มต้นตั้งชื่อภาพเขียนของเขา และเริ่มเชื่อมโยงรูปที่เขาวาดกับวัตถุจากโลกที่อยู่รอบตัว วัตถุที่อยู่คุ้นเคยรูปที่เขาวาดจะไม่เหมือนวัตถุชิ้นนั้น แต่จะบอกว่าเหมือน เขาสร้างสัญลักษณ์ขึ้นมาในใจ ซึ่งสัญลักษณ์เหล่านี้ไม่ได้มีความสำคํญในระยะยาว เพราะรูปๆเดียวกันอาจหมายถึงสิ่งที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา เมื่อเวลาผ่านไป
เริ่มแรก เด็กเหล่านี้จะตั้งชื่อ สิ่งที่เขาวาดเป็นชิ้นๆ เช่น ท้องฟ้า นก ผีเสื้อ ปลา ช้าง
เรื่องม้าลาย
ม้าลาย ไปเดินเล่นกับเพื่อนแล้วหลงป่า มันก็ถูกขังในห้องตลอดเวลา มันก็หลงเข้าไปในโลกอมยิ้ม ก็เจออมยิ้มที่น่ากิน มันก็เลยกิน อมยิ้มมันมีพิษก็เลยสลบ
จากรูป ในรูปสิ่งที่เรามองเห็นเป็นรูปธรรมคือ พระอาทิตย์กับอมยิ้ม ส่วนอื่นที่เป็นรูปกากบาทสีส้มคือคอกม้าทีมีม้าลายอยู่ในนั้น บางส่วนของรูปที่เป็นนามธรรมถูกแท่งสีชอล์กแท่งใหญ่ๆระบายทับลงไป รูปที่เป็นนามธรรมเลยกลายเป็นรูป กึ่งนามธรรม (Semi abstract) ในส่วนของเนื้อเรื่องที่น้องหยกเล่า อาจะมาจากการ์ตูนหรือหนังหรือนิทาน แต่การผูกเรื่องตัวละครของน้อง มีความสัมพันธ์กันระหว่างตัวละคร (เนื้อเรื่องที่แต่งมีประธาน กริยา กรรมและส่วนขยาย)
น้องเนม อายุ 7 ขวบ
จากกงานที่น้องเนม ทำงานศิลปะในวันแรก เขาจะเป็นเด็กที่ระมัดระวังสูง เช่นเวลาการระบายสี น้องจะระมัดระวังมาก ในการเจอกับผู้สอนครั้งแรก จนรู้สึกเกร็งๆในห้องห้องเรียน และทำงานได้ล่าช้ากว่าเด็กคนอื่น (การทำงานล่าช้าไม่ใช่ผลเสีย) เพียงแต่ระมัดระวังในการทำงาน
แจ็คสัน พอลล็อก (อังกฤษ: Jackson Pollok) เป็นจิตรกรชาวอเมริกันยุคศตวรรษที่ 20 และเป็นผู้นำขบวนการเขียนภาพแนวแอบสเตรค (Abstract-expressionism) พอลล็อกได้รับสมญานามว่า แจ๊ค เดอะ ดริปเปอร์ (Jack The Dripper) โดยใช้วิธีการเทสี หรือสาดสีลงบนผืนผ้าใบ ด้วยผลงานที่น่าสนใจ และวิธีการซึ่งเป็นเอกลักษณ์นี้ ทำให้เขามีชื่อเสียง และผลงานของเขาหลายๆชิ้นมีราคาสูงหลายล้านดอลล่าร์และปัจจุบันเป็นภาพเขียนที่มีการซื้อขายที่มีราคาสูงที่สุดในโลก
สิ่งที่น่าจะเหมือนกัน คือ ทั้งคู่ ค้นพบเทคนิคนี้โดยบังเอิญ
น้องเพลินพยายามคิดอยู่นานว่าจะเขียนอะไรดีบนแผ่นกระดาษ โดยเธอใช้ผืนทรายในการคิด ตอนแรกเธอก็ไม่กล้าจะวาดรูปนี้ลงบนกระดาษ เธอ แอบๆวาด ผู้สอนเลยบอกให้เธอวาดภาพนี้บนกระดาาก็ได้เธอเลย ยอมวาดงานของเธอลงบนแผ่นกระดาษ
Wassily Kandinsky คือจิตรกรชาวเยอรมัน เชื้อชาติรัสเซีย ผู้ให้กำเนิดศิลปะด้านพลังของอารมณ์ในแนวนามธรรม (abstract expressionism) Kandinsky เกิดที่ Moscow ประเทศรัสเซีย เมื่อ ค.ศ. 1866 ในครอบครัวที่มีฐานะดี เพราะสนใจกฎหมาย เศรษฐกิจ และการเมือง จึงเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัย Moscow และสำเร็จการศึกษาเมื่ออายุ 27 ปี จากนั้นได้งานเป็นอาจารย์ที่คณะนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัย และในเวลาเดียวกันก็มีงานอดิเรกเป็นนักดนตรีสมัครเล่นด้วย
สิ่งที่คล้ายกันของการทำงานของน้องเพลินและคาเนนสกี้ คือการใช้สีดำตัดเส้น บนกระดาษขาว แล้วค่อยระบายสีตามใจชอบ ภาพทั้งสองภาพเป็นภาพในแนวนามธรรม
มีบางครั้งที่ผู้สอนสังเกตว่า น้องเพลินบางครั้งยังไม่ค่อยมั่นใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะจึงเป็นสิ่งที่ผู้สอนและผู้ปกครองสมควรอย่างยิ่งที่จะให้กำลังใจ และกล่าวคำชมทุกๆครั้งที่น้องทำผลงานออกมา
ผิงผิง 6 ขวบกว่าๆ
เป็นช่วงแห่งการใช้สัญลักษณ์และตั้งชื่อรูป
เด็กๆในวัยนี้จะเริ่มต้นตั้งชื่อภาพเขียนของเขา และเริ่มเชื่อมโยงรูปที่เขาวาดกับวัตถุจากโลกที่อยู่รอบตัว วัตถุที่อยู่คุ้นเคยรูปที่เขาวาดจะไม่เหมือนวัตถุชิ้นนั้น แต่จะบอกว่าเหมือน เขาสร้างสัญลักษณ์ขึ้นมาในใจ ซึ่งสัญลักษณ์เหล่านี้ไม่ได้มีความสำคํญในระยะยาว เพราะรูปๆเดียวกันอาจหมายถึงสิ่งที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา เมื่อเวลาผ่านไป
เริ่มแรก เด็กเหล่านี้จะตั้งชื่อ สิ่งที่เขาวาดเป็นชิ้นๆ เช่น ท้องฟ้า นก ผีเสื้อ ปลา ช้าง
แต่สำหรับผิงผิงแล้ว สามารถแต่งเรื่องประกอบภาพเป็นประโยคได้แล้ว
รูปนี้เป็นรูปท้ายชั่วโมงของศิลปะครั้งที่สอง ที่ผิงผิงเรียนกับผู้สอน
ตอนนั้นผิงผิงมองไปที่กระดาษทิชชู่ และน้องหยิบกระดาษทิชชู่ เอามาทดลองเทคนิคที่อยากทำ คือการเอาทิชชู่จุ่มสีแล้วปั๊มลงไปบนกระดาษ ตามรูป มันอาจจะไม่เป็นภาพที่น่าเตะตาสำหรับผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ แต่ทว่า มันเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น เป็นบทเรียนที่น่าสนใจ สำหรับเด็กๆที่เรียนศิลปะในคาบเดียวกับเธอทั้งหมด น้องเป็นผู้นำบทเรียน ท้ายคาบเด็กๆทุกคนอยากเอากระดาษทิชชู่มาทำงานศิลปะแบบผิงผิง
ปิ้นปิ้น อายุ 8 ขวบ
น้องสาวไหม เด็กตัวเล็กๆ พูดเก่งๆ อายุ 8 ขวบ
อ่านว่า สาวไหม
ตัวแรกเป็นงู เพราะ S มาจาก snake แล้ว a ตัวที่2 กับตัที่ 5 เป็นมดเพราะมาจาก ant
ตัว m เป็นลิงมาจาก monkey
ตัวสุดท้าย i เป็นรูปบ้านน้ำแข็งของชาวเอสกิโม igloo
ตัว o ตัวที่สาม เป็นปลาหมึกเพราะมันคือ octopus
ตัวแรกเป็นงู เพราะ S มาจาก snake แล้ว a ตัวที่2 กับตัที่ 5 เป็นมดเพราะมาจาก ant
ตัว m เป็นลิงมาจาก monkey
ตัวสุดท้าย i เป็นรูปบ้านน้ำแข็งของชาวเอสกิโม igloo
ตัว o ตัวที่สาม เป็นปลาหมึกเพราะมันคือ octopus
ช่วงวัยของเด็ก และการแสดงออกทางศิลปะ
ช่วงวัยในการแสดงออกทางด้านศิลปะของเด็ก (ตามธรรมชาติ)
อายุ 2-4 ขวบ
เรียกช่วงวัยนี้ว่าศิลปะแบบขีดเขีย และเด็กวัยนี้จะพยายาม ฝีกความเคยชินกับอุปกรณ์และวัสดูนิดต่างๆ มีการใช้มือและการเคลื่นไหวกร้ามเนื้อ
ช่วงขีดเขี่ย ทันทีที่เด็กจับดินสอเป็น เขาจะเริ่มขีดเขี่ย ขีดเขียนไปทุกที่ ถ้าเป็นกระดาษหรือพื้นผิวที่ทำให้ดินสอเขียนติด เด็กก็จะเขียนลงไปบนนั้น ไม่ได้แสดงถึงสิ่งใดเป็นการเฉพาะ แต่เป็นความ ทำความคุ้นเคยกับวัสดุที่เขาจับต้อง
บางครั้งหากถูกถามว่าวาดรูปอะไรก็คิดตั้งชื่อภาพนั้น เดี่ยวนั้น
บ่อยครั้งที่เด็กๆรุ่นราววัยนี้จะชอบเขียนลงบนกำแพงและฝาบ้าน และพ่อแม่ผู้ปกครอง ก็สั่งห้ามไม่ให้เขียน เพราะพวกเขาเหล่านั้น กลัวกำแพงบ้านแสนสวนเลอะเทอะ ซึ่งการห้ามและดุด่านั้นทำให้ เป็นการกีดกั้น ความต้องการ และจินตนาการของเด็ก และเป็นครั้งแรกที่จะลดทอน ความมั่นใจของเด็กในการสร้างสรรค์งานศิลปะลง
ข้อแนะนำ
พ่อแม่และผู้ปกครอง ไม่ควร ดุด่าและขวางกั้นจิตนนาการของเด็กอย่างนั้น แต่ควรจะหาเศษกระดาษ และสี หรือ อุปกรณ์วาดภาพ ให้เด็กเริ่มฝึกฝนการใช้กล้ามเนื้อมือของเขา และเริ่มฝึกฝนให้เขาใช้จิตนาการของเขา และผู้ปกครองควร เป็นฝ่ายรับฟังว่าเขาต้องการเสนออะไรเกียวกับภาพเขียนของเขาดวยการช่วยส่งเสริมทางอ้อมโดยการพูดคุย หรือซักถามสิ่งที่เขาวาดลงไป ว่าคือ สิ่งใด คืออะไร มีชื่อไหม หรือ ลูกเคยเห็นที่ไหนมา นี่เป็นจุดเริ่มต้นให้ลูกของท่าน เป็นคนมั่นใจในตนเอง และเป็นเด็ก ช่างสังเกตุ
อายุ 4 -6 ขวบ
เป็นช่วงแห่งการใช้สัญลักษณ์และตั้งชื่อรูป
เด็กๆในวัยนี้จะเริ่มต้นตั้งชื่อภาพเขียนของเขา และเริ่มเชื่อมโยงรูปที่เขาวาดกับวัตถุจากโลกที่อยู่รอบตัว วัตถุที่อยู่คุ้นเคยรูปที่เขาวาดจะไม่เหมือนวัตถุชิ้นนั้น แต่จะบอกว่าเหมือน เขาสร้างสัญลักษณ์ขึ้นมาในใจ ซึ่งสัญลักษณ์เหล่านี้ไม่ได้มีความสำคํญในระยะยาว เพราะรูปๆเดียวกันอาจหมายถึงสิ่งที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา เมื่อเวลาผ่านไป
เริ่มแรก เด็กเหล่านี้จะตั้งชื่อ สิ่งที่เขาวาดเป็นชิ้นๆ เช่น ท้องฟ้า นก ผีเสื้อ ปลา ช้าง
เด็กๆในวัยนี้จะเริ่มต้นตั้งชื่อภาพเขียนของเขา และเริ่มเชื่อมโยงรูปที่เขาวาดกับวัตถุจากโลกที่อยู่รอบตัว วัตถุที่อยู่คุ้นเคยรูปที่เขาวาดจะไม่เหมือนวัตถุชิ้นนั้น แต่จะบอกว่าเหมือน เขาสร้างสัญลักษณ์ขึ้นมาในใจ ซึ่งสัญลักษณ์เหล่านี้ไม่ได้มีความสำคํญในระยะยาว เพราะรูปๆเดียวกันอาจหมายถึงสิ่งที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา เมื่อเวลาผ่านไป
เริ่มแรก เด็กเหล่านี้จะตั้งชื่อ สิ่งที่เขาวาดเป็นชิ้นๆ เช่น ท้องฟ้า นก ผีเสื้อ ปลา ช้าง
อายุ 7-8 ขวบ
ช่วงที่พ้นจาการเป็นเด็กเล็ก เริ่มเข้าสู่ความเหมือนจริงตามตาเห็น
เมื่อเด็กๆ เริ่มผ่านประสบการณ์ในวัยเด็กเล็ก เด้ก็เริ่มสังเกตุแง่มุมใหม่ๆ ของวัตถุชิ้นเดียวกัน ซึงจะส่งผลอิทธิพลต่อรูปทรงหรือแม้กระทั่งรูปแบบของสัญลักษณ์นั้น ยกตัวอย่างเช่น
หน้าคนที่ตอนแรกจะวาดเป็นรูปวงกลมใหญ่ๆกับวงกลมเล็กๆ สองวงแทนลูกตาทั้งสองข้าง ซึ่งต่อมาก็เริ่มมีปากและก็จมูก ปากกับจมูกอาจจะเป็นแค่เส้นเล็กๆสองเส้น เส้นหนึ่งตั้งและเส้นหนึ่งนอน
และเมื่อถึงเวลาของมัน รายละเอียดส่วนอื่นก็เริ่มปรากฎขึ้น เช่น หู ผม คอ เมื่อเด็กพัฒนาการสังเกตุด้วยตาที่จะรู้จักมองวัตถุด้วยความเป็นจริง รายละเอียดเหล่านี้จะดูเหมือนจริงมากขึ้น
ความเหมือนจริงตามตาเห็นนี้ อาจจะมีเหตุผลอื่นอยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงและจนถึงขั้นนี้ เด็กจะมีลักษณะที่อยู่ในโลกส่วนตัวขงตัวเอง ทุกอย่างที่เขามองเห็นหรือสัมผัสรู้ ถูกตีความด้วยการเอาตัวเองเห็นหลัก ตอนนี้เขาเริ่มสัมผัสสิ่งต่างๆตามความเป็นจริงและโลกของเขาเริ่มซับซ้อนมากขึ้น เขาจะเริ่มสร้างความสัมพันธ์กับสิ่งรอบตัว และเขาจะเริ่มออกมาจากโลกของตัวของตัวเอง
เด็กในวัยนี้จะเริ่มวาดรูปที่มาจากนินทาน หรือตัวการ์ตูน ที่เขาเริ่มดูและอ่าน
เมื่อเด็กๆ เริ่มผ่านประสบการณ์ในวัยเด็กเล็ก เด้ก็เริ่มสังเกตุแง่มุมใหม่ๆ ของวัตถุชิ้นเดียวกัน ซึงจะส่งผลอิทธิพลต่อรูปทรงหรือแม้กระทั่งรูปแบบของสัญลักษณ์นั้น ยกตัวอย่างเช่น
หน้าคนที่ตอนแรกจะวาดเป็นรูปวงกลมใหญ่ๆกับวงกลมเล็กๆ สองวงแทนลูกตาทั้งสองข้าง ซึ่งต่อมาก็เริ่มมีปากและก็จมูก ปากกับจมูกอาจจะเป็นแค่เส้นเล็กๆสองเส้น เส้นหนึ่งตั้งและเส้นหนึ่งนอน
และเมื่อถึงเวลาของมัน รายละเอียดส่วนอื่นก็เริ่มปรากฎขึ้น เช่น หู ผม คอ เมื่อเด็กพัฒนาการสังเกตุด้วยตาที่จะรู้จักมองวัตถุด้วยความเป็นจริง รายละเอียดเหล่านี้จะดูเหมือนจริงมากขึ้น
ความเหมือนจริงตามตาเห็นนี้ อาจจะมีเหตุผลอื่นอยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงและจนถึงขั้นนี้ เด็กจะมีลักษณะที่อยู่ในโลกส่วนตัวขงตัวเอง ทุกอย่างที่เขามองเห็นหรือสัมผัสรู้ ถูกตีความด้วยการเอาตัวเองเห็นหลัก ตอนนี้เขาเริ่มสัมผัสสิ่งต่างๆตามความเป็นจริงและโลกของเขาเริ่มซับซ้อนมากขึ้น เขาจะเริ่มสร้างความสัมพันธ์กับสิ่งรอบตัว และเขาจะเริ่มออกมาจากโลกของตัวของตัวเอง
เด็กในวัยนี้จะเริ่มวาดรูปที่มาจากนินทาน หรือตัวการ์ตูน ที่เขาเริ่มดูและอ่าน
อายุ 9-10ขวบ
ช่วงเวลาออกจากโลกจิตนาการ เริ่มมองเห็นความเหมือนจริงมากขึ้น
เด็กๆพยายามทำทุกอย่างแบบเดียวกับที่ผู้ใหญ่ในชีวิตของเขาทำ ไม่ใช่เพราะเขารู้สึกว่าเขาเป็นผู้ใหญ่ แต่เพราะเขาต้องการจะเก่งเท่าผู้ใหญ่ กรณีของการทำงานศิลปะเด็กจะเป็นตัวของตัวเองต่อไป ตราบเท่าที่เขายังไม่เริ่มมองเห็นโลกตามความเป็นจริงมากขึ้น การรับรู้โลกภายนอกจะส่งปลกระทบต่อแรงจูงใจที่เขาเริ่มแสดงออก
ในขั้นนี้เด็กจะรู้สึกขาดกำลังใจอย่างที่เคยมีในช่วงแรกๆของการแสดงออกทางด้านศิลปะ เขาจะคาดหวังให้ตัวเองวาดรูปได้เหมือนที่ผู้ใหญ่วาด (เด็กจะเริ่มคิดแต่อาจจะยังทำไม่ได้)
เด็กๆพยายามทำทุกอย่างแบบเดียวกับที่ผู้ใหญ่ในชีวิตของเขาทำ ไม่ใช่เพราะเขารู้สึกว่าเขาเป็นผู้ใหญ่ แต่เพราะเขาต้องการจะเก่งเท่าผู้ใหญ่ กรณีของการทำงานศิลปะเด็กจะเป็นตัวของตัวเองต่อไป ตราบเท่าที่เขายังไม่เริ่มมองเห็นโลกตามความเป็นจริงมากขึ้น การรับรู้โลกภายนอกจะส่งปลกระทบต่อแรงจูงใจที่เขาเริ่มแสดงออก
ในขั้นนี้เด็กจะรู้สึกขาดกำลังใจอย่างที่เคยมีในช่วงแรกๆของการแสดงออกทางด้านศิลปะ เขาจะคาดหวังให้ตัวเองวาดรูปได้เหมือนที่ผู้ใหญ่วาด (เด็กจะเริ่มคิดแต่อาจจะยังทำไม่ได้)
อายุ 11-14 ปี
ช่วงต้นของความเป็นวัยรุ่นกับความสับสน
อายุ หลัง 14ปีขึ้นไป
ช่วงแห่งความเป้นไปได้ ของการฟื้นฟู ความสามารถในเชิงศิลปะ
เด็กเรียนรู้จากสิ่งที่เขาเติบโตขึ้นมา
เด็กเรียนรู้จากสิ่งที่เขาเติบโตขึ้นมา
ถ้าเด็กเติบโตมากับคำตำหนิ
เขาจะสงสัยตัวเอง
ถ้าเด็กเติบโตมากับความเฉยเมย
เขาจะรู้สึกไร้ค่า
ถ้าเด็กเติบโตมากับความอับอาย
เขาจะรู้สึกผิด
ถ้าเด็กเติบโตมากับความหวาดกลัว
เขาจะวิตกกังวล
ถ้าเด็กเติบโตมากับกำลังใจ
เขาจะมีความเชีื่อมั่น
ถ้าเด็กเติบโตมากับคำยกย่องชมเชย
เขาจะเห็นคุณค่าของตัวเอง
ถ้าเด็กเติบโตมากับการยอมรับนับถือ
เขาจะยอมรับนับถือตนเอง
ถ้าเด็กเติบโตมากับความรัก
เขาจะรักตนเองและผู้อื่น
ถ้าเด็กเติบโตมากับความั่นคงปลอดภัย
เขาจะรู้สึกว่าโลกนี้เป็นที่ๆน่าอยู่
ถ้าเด็กเติบโตมากับความสงบ
เขาจะมีสันติสุขในจิตใจ
จากหนังสือ Everrest
ศาสตราจารย์ พญ อุมาพร ตรังคสมบัติ
ศิลปะเด็ก
หลักการสอนศิลปะแบบ ZEN
หลักการสอนแบบ ZEN คือการสอนแบบไม่สอน
หลักการสอนศิลปะแบบเซนมี สามประการ ดังนี้
1 ไม่สอนโดยตรง
2 ไม่บอกคำอธิบาย ชี้นำแบบยัดเยียด
3 ไม่ยึดรูปแบบ กฏเกนณ์ ระเบียบข้อบังคับ ชนิดตายตัว
หัวใจของการสอนแบบ ZEN
คือ การสอนแบบไม่ยึดมั่น โดยเนื้อแท้แล้ว วิธีการสอนแบบ Zen ขึ้นอยู่กับการสร้าง "โอกาส"
ของการเรียนรู้ รู้แจ้งภายในจิตใจ ของผู้เรียน อย่างฉับพลัน ซึงอาจจะเป็นนการเรียนรู้ที่เกิด จาก การสอนของครูหรือ เกิดจากการค้นพบ ด้วย ตัวของผู้เรียนเองได้
ดังนั้น หลักการสอนศิลปะแบบเซ็นจึงไม่ได้อยู่ที่รูปแบบ หรือ ผลงานสำเร็จ แต่คุณค่า ทีแท้ นั้นขึ้นอยู่กับ จิตใจและความเชื่อมั่น ในการแสดงออกอย่างอิสระเสรี เพื่อปลูกฝังให้เกิดความรัก ความเข้าใจในคุณค่าของศิลปะ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
หลักการสอนศิลปะแบบเซนมี สามประการ ดังนี้
1 ไม่สอนโดยตรง
2 ไม่บอกคำอธิบาย ชี้นำแบบยัดเยียด
3 ไม่ยึดรูปแบบ กฏเกนณ์ ระเบียบข้อบังคับ ชนิดตายตัว
หัวใจของการสอนแบบ ZEN
คือ การสอนแบบไม่ยึดมั่น โดยเนื้อแท้แล้ว วิธีการสอนแบบ Zen ขึ้นอยู่กับการสร้าง "โอกาส"
ของการเรียนรู้ รู้แจ้งภายในจิตใจ ของผู้เรียน อย่างฉับพลัน ซึงอาจจะเป็นนการเรียนรู้ที่เกิด จาก การสอนของครูหรือ เกิดจากการค้นพบ ด้วย ตัวของผู้เรียนเองได้
ดังนั้น หลักการสอนศิลปะแบบเซ็นจึงไม่ได้อยู่ที่รูปแบบ หรือ ผลงานสำเร็จ แต่คุณค่า ทีแท้ นั้นขึ้นอยู่กับ จิตใจและความเชื่อมั่น ในการแสดงออกอย่างอิสระเสรี เพื่อปลูกฝังให้เกิดความรัก ความเข้าใจในคุณค่าของศิลปะ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)